รูปแบบการเสนอข่าวกีฬาโอลิมปิกส์ของสื่อระดับโลกครั้งนี้น่าศึกษาวิเคราะห์ เพราะขณะที่นักกีฬาแข่งกันระดับโลกอย่างเข้มข้น สื่อเองก็ต้องแย่งชิงเหรียญทองกันอย่างคึกคัก ไม่มีใครยอมแพ้ใคร จึงเกิดนวัตกรรมการรายงานข่าวที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่ง
Nieman Reports ส่งรายงานมาอย่างนี้
New York Times ใช้วิธีการ texting with readers คือการส่ง updates ผลการแข่งขันผ่าน SMS ตลอดการแข่งขันทุกประเภทใหญ่ ๆ...แต่แน่นอนว่าเพียงแค่ส่งผลการแข่งขันล่าสุดเท่านั้นไม่พอ เพราะใคร ๆ ก็ทำได้ คนข่าวจะต้องใส่สีสันและความเป็นส่วนตัวของ ข่าวที่ส่งวันละ 3-4 ชิ้นจะต้องเป็นรูปแบบ smartphone snapshots, GIFs, emoji เพื่อให้รู้สึกว่านักข่าวคนนั้นรายงานจากข้างสนามสำหรับเราจริง ๆ
Times สร้างความตื่นเต้นในการนำเสนอด้วยการทำกราฟฟิก interactive เพื่อตอกย้ำความพิเศษสุดของฝีมือนักกีฬาอย่างน้อยสี่ประเภทคือ ว่ายน้ำ, gymnastics, high jump กับ triple jump.
คืนก่อนเปิดการแข่งขัน คณะกรรมการโอลิมปิกส์สากลประกาศห้ามการส่งภาพ GIFs ที่ไม่ได้รับอนุญาตทางการขึ้นใน social media แต่คนทำสื่อย่อมต้องหาทางออกจากอุปสรรคที่ขวางกั้นเสมอ จึงใช้กราฟฟิกในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำเสนอสีสันและสถิติของการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง
Washington Post ใช้หุ่นยนต์หรือ Bots รายงานข่าว อันหมายถึงการใช้ "ปัญญาประดิษฐ์" หรือ artificial intelligence (AI) มาเสริมทีมในการรายงานข่าว
เขาเรียกเครื่องมือนี้ว่า Heliograf พัฒนาโดยทีมวิศวกรรมของวอชิงตันโพสต์ ซึ่งสามารถดึงเอาข้อมูลที่เกี่ยวกับผลการแข่งขันและจำนวนเหรียญที่แต่ละประเทศได้จากแต่ละประเภทการแข่งขัน
นี่คือการใช้ "หุ่นยนต์" ทำหน้าที่เป็นนักข่าวในระดับหนึ่ง บก. วอชิงตันโพสต์ยืนยันว่าไม่มีแผนที่จะเอาหุ่นยนต์มาทำหน้าที่แทนมนุษย์ในการรายงานข่าวทั้งหมดแน่นอน แต่อะไรที่ AI ช่วยในการรวบรวมและสรุปข้อมูลพื้นฐานได้ ก็จะเริ่มทดลองทำเพื่อประสิทธิภาพและความรวดเร็วสูงสุด
อีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ผู้คนติดตามข่าวกีฬาระดับโลกได้อย่างสนุกสนานก็คือการอธิบายด้วยภาพและคำอธิบายที่โยงใยกับชีวิตประจำวัน
เช่นวาดภาพให้เห็นว่าลูกบอลในกีฬา Handball นั้นมีขาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5 นิ้ว เหรือเท่ากับครึ่งของพิซซ่ายักษ์หนึ่งถาด...เมื่อมีภาพกราฟฟิกประกอบดูง่าย เข้าใจเร็ว ก็ทำให้การติดตามข่าวสารในยุคดิจิตัลผ่านมือถือเป็นไปอย่างสนุกสนานน่ารื่นเริง
The Guardian ของอังกฤษใช้วิธี push alerts อันหมายถึงการส่งข้อความสั้น ๆ ไปถึงผู้ติดตามข่าวสารของเขาเป็นระยะ ๆ ลักษณะบอกกล่าวข่าวสารอย่างเร่งร้อนรวดเร็ว
The Guardian มีหน่วยงานที่เรียกว่า The Guardian Mobile Innovation Lab หรือ "ห้องทดลองนวัตกรรมโมบาย" ที่ได้คิดวิธีการสร้างความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้บริโภคด้วยการส่งข้อความสั้นที่เรียกว่า push notifications
เมื่อมีจังหวะของการรายงานข่าวกีฬาระดับโลกเขาจึงทดลองใช้ push alerts เพื่อส่งข่าวคราวเรื่องผลการได้เหรียญของแต่ละประเภท, สถิติล่าสุดของแต่ละประเทศ, การสำรวจล่าสุดตลอดไปจนถึงการเล่นเกมและตอบคำถามต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการแข่งขันครั้งนี้
การสร้างเกมส์ให้ผู้ติดตามข่าวสารได้ร่วมเล่นด้วยอย่างสนุกก็เป็นกลยุทธ์อีกทางหนึ่ง
The Guardian สร้าง podcast (รายการผ่านเสียง) ที่เรียกว่า RioRun โดยที่ให้คนติดตามฟัง podcast นี้ร่วมวิ่ง "มาราธอนรีโอ" มีความยาว 26.2 ไมล์ตลอดช่วงการแข่งขันโอลิมปิกส์...โดยที่ขณะที่ผู้ฟัง podcast นี้วิ่งไป คนข่าวของ The Guardian และคนอื่น ๆ ก็จะนำเสนอข่าวสารสีสันข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขันโอลิมปิกส์และคำแนะนำเกี่ยวกับการวิ่งมาราธอนไปพร้อม ๆ กัน
ส่วน Wall Street Journal มีเกม Armchair Olympian ซึ่งเป็นเกม interacive ให้คนเล่นทดสอบความสามารถของตัวเองผ่าน apps นี้ในการแข่งขันบางประเภทเช่นวิ่ง, กระโดดไกล, พายเรือ ต่าง ๆ เป็นต้น
ถือว่าติดตามข่าวการแข่งขันของมืออาชีพไป ตัวเองก็สามารถทดลองความสามารถของตัวเองในกีฬาประเภทต่าง ๆ ไปด้วยพร้อม ๆ กัน
ๆ กัน
No comments:
Post a Comment