Friday, September 30, 2011
บีบีซีภาคภาษาจีนใช้ Weibo หรือทวิตเตอร์แบบจีนเจาะข่าวจีน
"เวยโป๋" (Weibo) หรือ 微博 คือ micro blog ของจีนที่เลียนแบบ Twitter ทุกกระเบียดนิ้ว ขณะนี้มีคนเข้าใช้ประมาณ 200 ล้านคนทั้ง ๆ ที่เพิ่งจะเปิดบริการมาได้ประมาณสองปีเท่านั้น
หัวหน้าฝ่ายข่าวบีบีซีภาคภาษาจีนที่ลอนดอนให้สัมภาษณ์ว่าเขาใช้ social media ของจีนสื่อสารกับผู้อ่านและผู้ฟังจีน (เว็บไซท์และวิทยุกับทีวีบีบีซีถูกห้ามในเมืองจีน) ผ่าน "เวยโป๋" อย่างมีประสิทธิภาพ
และหลายครั้งยังใช้ทวิตเตอร์ของจีนนี่แหละเจาะหาแหล่งข่าว ค้นหาข้อมูลที่ปกติจะหาจากแหล่งข่าวอื่นไม่ได้ จนสามารถทำรายงานลักษณ์ะสืบสวนสอบสวนหรือ investigative reporting เกี่ยวกับบางประเด็นในเมืองจีนได้อย่างน่าพอใจ
นี่คือ "อนาคตของข่าว" ที่เป็นมาตรฐานสากล...นั่นคือการใช้ social media อย่างกว้างขวาง, คล่องแคล่ว, และรอบคอบเพื่อทำหน้าที่การรายงานข่าวในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
Thursday, September 29, 2011
พอ Kindle Fire เปิดตัวที่ $199 เพื่อชน iPad ที่ $499...คนข่าวก็ต้องขยับจาก Digital First เป็น Mobile First
พอ Amazon เปิดตัวแท็บเบล็ท Kindle Fire ราคา $199 (6,000 บาท)เพื่อชนกับ iPad ที่ราคา $499 15,000 บาท)
ก็เห็นภาพชัดขึ้นทันทีว่าคนข่าวดิจิตัลจะหันมาใช้มันเป็นเครื่องมือทำข่าว, สื่อสาร, และเสนอเนื้อหาสาระผ่าน tablet อย่างเป็นกิจลักษณะมากขึ้น
เพราะ iPad เป็นอุปกรณ์สำหรับคนระดับบน แต่ Kindle Fire กำลังจะทำให้แท็บเบล็ทกลายเป็น "ความจำเป็นประจำวัน" ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจยิ่ง
ณ ราคาหกพันบาทวันนี้ เป็นไปได้ว่าในปีสองปีข้างหน้า ทุกค่ายจะต้องพยายามทำให้มันราคาต่ำลงมาอีก เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการซื้อขายมากกว่าเป็นแท็บเบล็ทอย่างเดียว
เจ้าของอะเมซอน Jeff Bezos ประกาศเมื่อวานตอนเปิดตัว Kindle Fire ว่ามันไม่ใช่ tablet แต่เป็น service ซึ่งแปลว่าเขาสามารถจะขายมัน ณ ราคาต่ำกว่าทุนเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนเอามันไปใช้ซื้อหนัง, วีดีโอ, เพลง,และหนังสือและเล่นเกมส์จาก Amazon.com และเขาสามารถสร้างรายได้เพิ่มเติมจากการขายโฆษณาได้อีก
วงการสื่อก็จะต้องปรับตัวอีกครั้งหนึ่ง หาก tablet มีราคาพอ ๆ กันมือถือและสามารถทำอะไรได้ไม่น้อยกว่ากันโดยเฉพาะหากเนื้อหาของข่าวสารและข้อมูลทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นตัวหนังสือ, เสียง, วีดีโดและ animations สามารถเอาขึ้นไปได้เพื่อกาบริโภคของผู้ใช้อย่างทันท่วงที
จากกลยุทธ Digital First อาจจะต้องปรับอีกรอบหนึ่งเป็น Mobile First
นั่นย่อมแปลว่าไม่เพียงแต่คนทำข่าวเท่านั้นที่ต้องปรับตัวตลอดเวลา แต่หัวหน้าข่าวและบรรณาธิการก็ต้องเข้าใจการปรับเปลี่ย design สำหรับการนำเอาเนื้อหาขึ้นสู่ tablet อย่างคล่องแคล่วและ update เนื้อหาได้ตลอดเวลา
อาจจะหมายถึงการสร้างหน่วยงานใหม่ที่มีความสามารถครบวงจรตั้งแต่ข่าว, เนื้อหา, การออกแบบ, การตลาดและการปรับกลยุทธในภาพรวมทั้งหมดเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารที่ไม่เคยหยุดนิ่งแม้แต่วันเดียว
Wednesday, September 28, 2011
ฝืมือคนข่าวต้องไวจึงได้ช็อทนี้
นักข่าวที่ถ่ายคลิบนี้ทันต้องใช้กล้องมือถือที่เบียดเสียดคนใกล้ชิดนายกฯยิ่งลักษณ์เพื่อยิงช๊อทเด็ดนี้เท่านั้น หากเป็นกล้องทีวีใหญ่ที่คอยถ่ายตอนให้สัมภาษณ์อย่างเป็นทางการหน้าทำเนียบรัฐบาลเท่านั้น ก็จะพลาดมุมนี้ไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง
นายกฯไม่ได้บอกว่า "ขำ" อะไรจึงได้ยิ้มและหัวเราะกับตัวเองได้ขนาดนั้น...วันนั้นตรงกับวันที่ 20 กันยายน, หลังประชุมคณะรัฐมนตรี และนายกฯถูกนักข่าวรุมถามมากมายหลายเรื่อง จังหวะดี, นายกฯยิ่งลักษณ์ก็ถือโอกาสหลบเข้าลิฟท์เพราะไม่ต้องตอบคำถาม
ช็อทนี้บอกคนข่าวว่าแม้นายกฯจะดูเครียดและต้องสวมบทเอาจริงเอาจังเวลาตอบคำถาม, แต่ก็มีช่วงเวลาที่เป็นตัวของตัวเอง...เมื่อหลบเข้าลิฟท์ไปได้ และนึกว่านักข่าวตามไม่ทัน และไม่รู้หรอกว่าตัวนายกฯเองมีความรู้สึกขบขันเพียงใด
ความเป็นคนข่าวฉับไวนี่แหละที่ทำให้จับคลิบนี้ได้ (จากเว็บไซท์ประชาชาติธุรกิจ)
Tuesday, September 27, 2011
คนข่าวดิจิตัล...หนึ่งสมอง, สองมือ, กระเป๋าใบเดียว
วันก่อน ผมไปฟัง Dr Dave Clark ซึ่งเป็นทั้งนักข่าวและครูสอนด้าน multimedia journalism ที่ปักกิ่งและมะนิลาเล่าถึงวิธีทำงานของนักข่าวยุคใหม่ที่สามารถใช้อุปกรณ์หลายชิ้น ใส่กระเป๋าใบเดียว และทั้งรายงาน, ถ่ายทำ, ตัดต่อด้วยตนเอง ผลิตผลงานวีดีโอที่มีคุณภาพมาตรฐานได้อย่างน่าอัศจรรย์
Dr Clark เป็นนักข่าวชาวอังกฤษ แต่ทำหน้าที่เป็น Programme Director ด้าน Multimedia ให้กับหนังสือพิมพ์ China Daily ด้วย และผลิตผลงานหลากหลายพร้อม ๆ กับสอนนักเรียนและนักข่าวให้รู้จักใช้เทคโนโลยีผสมผสานกับความคล่องตัวของนักข่าวยุคใหม่เพื่อทำงานเป็น "ทีมงานคนเดียว" อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ผมถ่ายวีดีโอคลิบนี้มาให้ดูว่าในกระเป๋าใบเดียวของเขานั้นมีอะไรบ้าง...น่าทึ่งอย่างยิ่งครับ
Sunday, September 25, 2011
ตอบคำถาม Why และ How สำคัญกว่า Who, What, Where, When?
หากคนข่าวยุคดิจิตัลทำคำถามเพียงแต่สามสี่ข้อแรก, ก็เท่ากับละทิ้งหน้าที่ของการเป็น "คนข่าวมืออาชีพ" เพราะการที่ระบบอินเตอร์เน็ททำให้สามารถสื่อสารได้รวดเร็วทันการนั้น, ไม่ได้แปลว่าคนข่าวที่มีมาตรฐานจะหลงระเริงกับความสะดวกง่ายดายโดยลืมไปว่าคุณค่าของการเป็นสื่อที่มีความรับผิดชอบนั้นจะต้องยึดมั่นหลักการเดิมของการทำสื่อที่มีคุณภาพ
นั่นคือการตอบคำถามว่า Why? ต่อทุกข่าวที่มีความสำคัญของสังคม, และหากในการทำหน้าที่รายงานข่าวแล้วยังไม่สามารถจะสืบสวนหาคำตอบต่อคำถามว่า "ทำไม?" ก็ย่อมแปลว่าเรายังไม่ได้แสดงความรู้ความสามารถที่สมควรจะได้รับความไว้วางใจจากสังคม
นอกจากต้องตอบคำถามว่า Why? แล้ว, คนทำสื่อที่มีหลักการถูกต้องมั่นคงก็จะต้องตอบให้ได้ด้วยว่า How? นั่นคือการแสวงหาข้อมูลและเบื้องหลังของข่าวคราวตลอดจนการวิเคราะห์สถานการณ์ไปในอนาคตว่าสิ่งที่เกิดมาแล้ว, และอธิบายได้ว่าสาเหตุมาจากอะไร ยังจะต้องบอกต่อด้วยว่าแล้วเรื่องนี้จะกระทบต่อผู้คน "อย่างไร?" ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม, และไม่ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องในข่าวนั้นจะพยายามปกปิดข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์แห่งตนอย่างไร
ดังนั้น, ความเร็วของยุคดิจิตัลต้องไม่หมายถึงความผิวเผิน, ร้อนรน, กระโดดจากข่าวหนึ่งไปสู่อีกข่าวหนึ่งโดยไม่สนใจที่จะล้วงลึกเข้าไปถึงส่วนลึกของเรื่องนั้น ๆ หากแต่จะต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อทำหน้าที่เจาะลึกและกว้าง, และอธิบายว่า "ทำไมและอย่างไร?" ได้อย่างรอบด้าน, แม่นยำและน่าเชื่อถืออีกด้วย
แต่เพียง "ความร้อน" (heat) ย่อมไม่ใข่คำตอบ คนทำสื่อที่มีฝีมือจริง ๆ ในยุค "อนาคตแห่งข่าว" นั้นจะต้องสนองตอบความต้องการของสังคมด้วย "แสงสว่าง" (light) อย่างจะแจ้งอีกด้วย
Wednesday, September 21, 2011
"มิเตอร์จับเท็จ" นักการเมือง...ส่วนหนึ่งของอนาคตแห่งข่าว
หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของคนข่าวไม่ว่าจะยุคไหนคือการตรวจสอบว่าใครพูดจริง, ใครพูดไม่จริง, ใครพูดความจริงเพียงด้านเดียว, หรือพูดบิดเบือนความจริงเพื่อให้ตนได้ประโยชน์?
ยิ่งคนที่อาสาเข้ามาทำงานเพื่อประชาชนในฐานะนักการเมืองหรือข้าราชการด้วยแล้ว, ก็ยิ่งจะต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนพูดต่อสาธารณชน
ผมเห็นเว็บไซท์ Politifact.com ที่เขาประกาศว่าจะตรวจสอบทุกคำพูดและคำกล่าวอ้างของนักการเมืองหรือของบุคคลสาธารณะว่าเป็นการกล่าวตามข้อเท็จจริงหรือม่ก็เห็นความพยายามที่น่าสนใจ สมควรที่คนทำสื่อโดยเฉพาะในยุคดิจิตัลที่จะต้องทำหน้าที่การตรวจข้อมูลและข่าวสารเพื่อบอกกล่าวกับประชาชนว่าสิ่งที่ "ผู้รับใช้ประชาชน" นำมาบอกกล่าวหรือหาเสียงหรือสร้างความนิยมให้กับตนเองหรือกล่าวหาผู้อื่นเพื่อประโยชน์แห่งตนนั้นมีความจริงมากน้อยเพียงใด
เป็นการทำหน้าที่ของสื่อที่รับผิดชอบที่ไม่เพียงแต่รายงานว่าใครพูดอะไรเมื่อไหร่ที่ไหนเท่านั้น (ข่าวประเภท He said/She said)หากแต่ยังจะต้องค้นหากลับไปยังแหล่งที่มาของข้ออ้างนั้น หรือตรวจสอบจากทุกแหล่งข่าวที่พึงจะหาได้ว่า คำพูดหรือข้อกล่าวอ้างของนักการเมืองแต่ละคนในแต่ละเรื่องนั้น "ชัวร์หรือมั่วนิ่ม" กันแน่
เว็บไซท์ Politifact.com เอาจริงเอาจังกับบทบาทการ "จับโกหก" ของสาธารณบุคคลถึงขั้นที่ใช้ "มิเตอร์จับเท็จ" ที่เขาเรียกว่า Truth-O-Meter เพื่อจะบอกกับสาธารณชนว่าคำพูดของนักการเมืองคนไหนเมื่อไหร่มีความจริงมากน้อยเพียงใด
เขาแบ่งเป็นประเภทของ "ชัวร์หรือมั่วนิ่ม" ว่าจริง, เท็จ, จริงบางส่วน, เท็จบางส่วน, หรือ "มั่วทั้งเพ" ไปเลย
แน่นอน การที่ฝ่ายข่าวของสื่อใดจะทำหน้าที่ตรวจสอบเช่นนี้ได้จะต้องมีความมั่นใจในความถูกต้องแม่นยำ, ความเป็นมืออาชีพ, และความน่าเชื่อถือที่สั่งสมจากประสบการณ์ ไม่โอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง หรือกลายเป็นเครื่องมือของฝ่ายใด เพราะ "ความน่าเชือถือ" นั้นเองคืออาวุธที่ทรงคุณค่าที่สุดสำหรับคนทำสื่อไม่ว่าจะยุคใดสมัยใด
ยิ่งทุกวันนี้มีแหล่งข่าวและกลไกของการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมากมาย, การทำหน้าที่ "จับโกหก" สาธารณบุคคลก็ยิ่งทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อยู่ที่ว่าสื่อจะเห็นความสำคัญของการใช้ "มิเตอร์จับเท็จ" ในการสร้าง "อนาคตแห่งข่าว" ที่ได้มาตรฐานแห่งวิชาชีพหรือยัง?
Sunday, September 18, 2011
วันหนึ่งหากหุ่นยนต์เขียนข่าวดีกว่ามนุษย์...
หากวันนั้นมาถึง คุณในฐานะเป็นนักข่าวอาชีพจะทำอย่างไร?
"วันนั้น" ผมหมายถึงเมื่อคอมพิวเตอร์เขียนข่าวแทนนักข่าวตัวเป็น ๆ ได้อย่างที่มีการทดลองสร้าง "Robot Journalist" ที่เขียนข่าวกีฬาได้ และเกือบจะทำได้ดีกว่านักข่าวกีฬาที่เป็นมนุษย์ปกติอย่างที่รายงานในรายการวิทยุของ NPR ที่วิเคราะห์ผ่านโครงการ Narrative Science
เขาทำนายไว้อย่างท้าทายว่าอีกห้าปี เจ้าหุ่นยนต์นักข่าวนี้อาจจะเขียนข่าวได้ดีถึงขั้นได้รางวัลพูลิทซอร์ทีเดียว...เรียกว่าสามารถเอาชนะนักข่าวธรรมดาได้
กระบวนการของการให้คอมพิวเตอร์เขียนข่าวอย่างเป็นกิจลักษณะคือการป้อนข้อมูลทั้งหลายเข้าไป (ก็โดยมนุษย์นี่แหละ) เพื่อบอกให้เขียนตามสูตรที่กำหนดเอาไว้ (ก็โดยมนุษย์เองอีกนี่แหละ) และสามารถผลิตผลงานออกมาเนี๊ยบกว่าที่นักข่าวที่เป็นคนธรรมดาเขียนได้เอง
ผมว่าความเป็นไปได้นั้นมีอยู่ เพราะถึงจุดหนึ่งเมื่อมนุษย์สอนให้ "นักข่าวหุ่นยนต์" มีความ "ฉลาด" ได้ด้วยการใส่ข้อมูลและสูตรต่าง ๆ เข้าไปได้แล้ว มันก็สามารถผลิตผลงาน "ดิจิตัล" ออกมาได้อย่างเป็นระบบ...
นี่ย่อมแปลว่าหากคนข่าววันนี้ไม่ปรับตัวและใช้สมองอย่างชาญฉลาด และฝึกฝนตนให้ใช้วิธีคิดอย่างสร้างสรรค์เกินกว่าคอมพิวเตอร์จะทำได้, "วันนั้น" ก็จะมาถึงโดยไม่ช้าเกินไปนัก
"วันนั้น" คือวันที่หุ่นยนต์ทำหน้าที่ "คนข่าว" ได้ดีกว่า "คน" จริง ๆ
น่ากลัว น่าหวาดหวั่น และน่าสยองยิ่งนักสำหรับคนทำสื่อที่ยืนยันว่าจะไม่ปรับไม่เปลี่ยนและไม่สนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเอง
(แน่ใจได้อย่างไรว่าข้อความข้างบนนี้ไม่ได้เขียนโดยหุ่นยนต์นักข่าว?)
"วันนั้น" ผมหมายถึงเมื่อคอมพิวเตอร์เขียนข่าวแทนนักข่าวตัวเป็น ๆ ได้อย่างที่มีการทดลองสร้าง "Robot Journalist" ที่เขียนข่าวกีฬาได้ และเกือบจะทำได้ดีกว่านักข่าวกีฬาที่เป็นมนุษย์ปกติอย่างที่รายงานในรายการวิทยุของ NPR ที่วิเคราะห์ผ่านโครงการ Narrative Science
เขาทำนายไว้อย่างท้าทายว่าอีกห้าปี เจ้าหุ่นยนต์นักข่าวนี้อาจจะเขียนข่าวได้ดีถึงขั้นได้รางวัลพูลิทซอร์ทีเดียว...เรียกว่าสามารถเอาชนะนักข่าวธรรมดาได้
กระบวนการของการให้คอมพิวเตอร์เขียนข่าวอย่างเป็นกิจลักษณะคือการป้อนข้อมูลทั้งหลายเข้าไป (ก็โดยมนุษย์นี่แหละ) เพื่อบอกให้เขียนตามสูตรที่กำหนดเอาไว้ (ก็โดยมนุษย์เองอีกนี่แหละ) และสามารถผลิตผลงานออกมาเนี๊ยบกว่าที่นักข่าวที่เป็นคนธรรมดาเขียนได้เอง
ผมว่าความเป็นไปได้นั้นมีอยู่ เพราะถึงจุดหนึ่งเมื่อมนุษย์สอนให้ "นักข่าวหุ่นยนต์" มีความ "ฉลาด" ได้ด้วยการใส่ข้อมูลและสูตรต่าง ๆ เข้าไปได้แล้ว มันก็สามารถผลิตผลงาน "ดิจิตัล" ออกมาได้อย่างเป็นระบบ...
นี่ย่อมแปลว่าหากคนข่าววันนี้ไม่ปรับตัวและใช้สมองอย่างชาญฉลาด และฝึกฝนตนให้ใช้วิธีคิดอย่างสร้างสรรค์เกินกว่าคอมพิวเตอร์จะทำได้, "วันนั้น" ก็จะมาถึงโดยไม่ช้าเกินไปนัก
"วันนั้น" คือวันที่หุ่นยนต์ทำหน้าที่ "คนข่าว" ได้ดีกว่า "คน" จริง ๆ
น่ากลัว น่าหวาดหวั่น และน่าสยองยิ่งนักสำหรับคนทำสื่อที่ยืนยันว่าจะไม่ปรับไม่เปลี่ยนและไม่สนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเอง
(แน่ใจได้อย่างไรว่าข้อความข้างบนนี้ไม่ได้เขียนโดยหุ่นยนต์นักข่าว?)
Saturday, September 17, 2011
เชื้อเชิญให้คนอ่านวิจารณ์ท่าน...เพื่อความอยู่รอดของคุณเอง
ยิ่งเข้ายุคสื่อดิจิตัล, ยิ่งต้องให้ผู้เสพข่าวได้ร่วมแสดงความเห็นและกำหนดวิธีการทำงานของคนทำสื่ออาชีพ เพราะการตรวจสอบจะเข้มข้นขึ้น และคนข่าววิชาชีพไม่สามารถจะซ่อนตัวอยู่หลังกำแพงแห่งคำว่า "สื่อมวลชน" โดยไม่ให้มวลชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและสาระอีกต่อไป
Washington Post เปิดเว็ปไซท์ย่อย ๆ ใหม่ เรียกมันอย่างง่าย ๆ ตรง ๆ ว่า "Ask the Post" ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดช่องทางการสื่อสารอย่างเป็นระบบเพื่อรับฟังความเป็นจากคนอ่านอย่างเป็นกิจลักษณะ ไม่ใช่เพียงรออ่านอีเมล์จากคนอ่านที่เกิดอารมณ์ไม่พอใจกับบางเรื่องบางข่าวหรือบางรูปเท่านั้น
การเปิดเว็ปไซท์เพื่อให้เป็นเวทีเปิดและให้คนอ่านสามารถเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ทั้งกับคนทำสื่อกับคนอ่านกันเองจึงเป็นการเปิดกว้างที่มีนัยสำคัญสำหรับการสร้างฐานคนอ่านและผู้เสพข่าวอย่างต่อเนื่องท่ามกลางการท้าทายของข่าวสารที่หลั่งไหลมาทุกวินาที
เว็บไซท์ "ท่านถาม เราตอบ" อย่างนี้จะต้องมีบรรณาธิการดูแลเป็นการเฉพาะเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของความเห็นที่ไหลเข้ามและเพื่อประสานให้คนในห้องข่าวได้ตอบคำถามหรือสนองความคิดเห็นที่มาจากผู้ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดและให้เกิด engagement สูงสุด
ผมชอบที่เขาขอให้คนอ่านวิพากษ์หน้าหนึ่งของเขาทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจเลือกว่าข่าวไหนสำคัญกว่าข่าวไหน รวมไปถึงภาษาข่าวและภาพที่ใช้ รวมไปถึงการจัดหน้าและการสะท้อนถึงความลุ่มลึกของข่าวในภาวะที่ข่าว breaking news ไม่ใช่จุดขายของสื่อหนังสือพิมพ์อีกต่อไปแล้ว
ในเว็บไซท์นี้ บก.แต่ละโต๊ะข่าวจะมาสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้อ่านอย่างเป็นกันเอง เสมือนเป็นการตั้งเวทีคุยกันได้ทุกเรื่องทุกวันกับทุกคน
นี่คือแนวทางการอยู่รอดในวันนี้ของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องปรับตัวให้แข่งขันกับกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและต่อเนื่อง..เพราะหากคนอ่านของคุณเงียบสนิทหรือไม่สนใจจะวิพากษ์คุณ, ก็ย่อมแปลว่าหน้าที่งานการของคุณกำลังจะหมดความหมายในวิถีชีวิตประจำวันของเขาและเธอแล้ว
Thursday, September 15, 2011
สมัครงานเป็นนักข่าว...เขียนสมัครมาแค่ 140 ตัวอักษรผ่านทวิตเตอร์!
อนาคตของข่าวก็คืออนาคตของคนข่าวเองนี่แหละ...และดูเหมือนการปรับตัวจะต้องเกิดขึ้นถี่ขึ้นกว่าเดิมในทุก ๆ ด้าน
อย่างบรรณาธิการของสื่ออังกฤษคนนี้ประกาศอย่างขึงขังผ่านบล็อกของตัวเองว่าต่อแต่นี้ ใครจะสมัครเป็นนักข่าวของเขาไม่ต้องเขียนใบสมัครยาวเหยียดหรือกรอกฟอร์มสวยหรูให้วุ่นวายเหมือนที่ทำกันมาหลายร้อยปีแล้ว
แกบอกว่าแกเบื่อมากกับคนที่มาสมัครงานกับสื่อของแกวันนี้ แล้วยังเขียนเหมือนยังอยู่ในโลกยโบราณ นั่นคือ "เรียนท่านบรรณาธิการ...ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะสมัครงานตำแหน่งนักข่าวกับหนังสือพิมพ์ของท่าน ข้าพเจ้าได้แนบประวัติการทำงานและผลงานในอดีตมาให้ท่านได้อ่านพร้อมกันนี้แล้ว ข้าพเจ้าหวังว่าท่านจะโอกาสแต่ข้าพเจ้าในการได้มาร่วมงานกับท่าน...ขอแสดงความนับถืออย่างสูง...."
หรือเขียนอะไรเชย ๆ อย่างนี้
บรรณาธิการคนนี้บอกว่าต่อไปนี้ใครจะสมัครตำแหน่งนักข่าวให้สมัครด้วยการเขียนทวิตเตอร์ความยาวไม่เกิน 140 ตัวอ้กษรเท่านั้น ไม่ต้องยาวกว่านี้ ไม่ต้องสาธยายความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์ให้น่ารำคาญ
"ผมเพียงต้องการนักข่าวที่เขียนข่าวที่คนอื่นหาไม่ได้ เขียนได้อย่างเร็วและถูกต้องแม่นยำเท่านั้น อย่างอื่นไม่ต้องมาโม้ให้เสียเวลาของผมและของคุณ..."
สมัครงานผ่าน Facebook ผมก็ว่าทันสมัยแล้ว นี่จะให้สมัครงานผ่าน Twitter เพราะต้องการพิสูจน์ว่าคนสมัครสามารถเสนอตัวเองใน 140ตัวอักษรได้เก่งแค่ไหน
ผมชักจะเห็นด้วยกับ บก. อังกฤษคนนี้เสียแล้วซิครับ...
เห็นหรือยังครับว่าอนาคตคนข่าวไม่ง่ายอีกต่อไปแล้วครับ
Tuesday, September 13, 2011
Thaipublica...อีกประกายไฟใหม่ของอนาคตแห่งข่าว
การประกาศเปิดตัวของ Thaipublica ที่เรียกตัวเองวาเป็น "สำนักข่าวสืบสวนสอบสวนเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์" เป็นเรื่องน่าติดตามสำหรับคนข่าวที่สนใจ "อนาคตของข่าว" แน่นอน
และน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของกระแสใหม่ของการทำสื่อออนไลน์เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับสังคมไทย
ผมอยากเห็นคนข่าวรุ่นใหม่ที่มีอุดมการณ์ทำข่าวอย่างมืออาชีพ,เป็นอิสระ, แสวงหาความจริงมาเปิดเผยต่อสังคมไทยที่จะมีความกล้าและมุ่งมั่นที่จะก้าวเข้ามาสู่โลกออนไลน์เพื่อผลิตสาระและเนื้อหาในรูป multimedia เพื่อเสนอผลงานต่อสังคมอย่างมีมาตรฐานและใช้โอกาสแห่งความคล่องแคล่วของโลก digital นี้สนองตอบความฝันของตนที่จะเป็นสื่อวิชาชีพที่ไม่ต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของทุน, การเมืองหรือสังกัดของสำนักหรือค่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
Thaipublica บอกว่าเลียนแบบของ Propublica.org ของอเมริกาซึ่งเน้นการทำข่าวเชิง investigative reporting โดยได้เงินสนับสนุนจากองค์กรสาธารณะและผู้บริจาคที่ต้องการเห็นการทำข่าวเชิงลึกอย่างจริงจัง ถือได้ว่าเป็นสื่อทางเลือกที่ได้รับความสนใจในแวดวงผู้สนใจวิวัฒนาการของสื่อในรูปแบบใหม่ ๆ ไม่น้อย
Thaipublica มีชื่อของนักคิดนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ที่มีผลงานปรากฏมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสฤณี อาชวานันทกุล,
บุญลาภ ภูสุวรรณ, ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และอีกหลายคนในแวดวงที่คนอ่านหนังสือคุ้นเคย จึงน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความสนใจกระตุ้นให้คนทำสื่อรุ่นใหม่ ๆ เกิกแรงบรรดาลใจให้เปิดงานด้านแนวทางนี้อย่างมีนัยสำคัญ
ตามคำให้สัมภาษณ์ของผู้ร่วมก่อตั้ง แหล่งรายได้เบื้องต้นของ Thaipublica มาจากทุนตั้งต้นที่มาจากผู้สนับสนุนที่มีเจตนารมณ์ ถือเป็น "เงินบริจาค" ที่ไม่มีเงื่อนไข อีกทั้งยังจะหารายได้จากโฆษณา และจากสมาชิกหากอ่านเกินเนื้อหาจำนวนหนึ่งที่ให้อ่านฟรีได้
ผมเห็นแนวโน้มที่จะมีสื่ออนไลน์ในรูปแบบนี้ก่อเกิดขึ้นต่อเนื่องอีกอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะคนทำสื่อที่ไม่ต้องการผูกติดกับกลุ่มทุน, กลุ่มการเมือง, หรือถูกมองว่าเป็นเพียงกระบอกเสียงของกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
แน่นอนว่านี่คือการท้าทายสื่อกระแสหลักที่ถูกมองว่ามีข่าวคราวสืบสวนสอบสวนในหัวข้อสำคัญ ๆ ไม่เพียงพอ และไม่อาจจะตอบสนองความต้องการของสังคมที่ไม่เพียงแค่ "ข่าวเร็วข่าวร้อน" เท่านั้น หากแต่ต้องการ "ข่าวลึก, ข่าวเจาะ" ที่จะสร้างปัญญามากกว่าเพียงแค่ทำข่าว "ไฟไหม้ฟาง" เท่านั้น
ทุกประกายไฟใหม่ที่ส่องสว่างในท้องฟ้าแห่งข่าวสารบ้านเมืองย่อมควรได้รับการต้อนรับจากผู้สนใจใคร่สร้างสิ่งใหม่ ๆ ของ "อนาคตแห่งข่าว" ทั้งสิ้น
Saturday, September 10, 2011
ข่าวไฟไหม้ฟาง...ต้องถูกแทนที่โดย "ข่าวอธิบายความ"
คนข่าวมองไปในอนาคตจะต้องเห็นสัจธรรมข้อหนึ่ง นั่นคือ "ข่าวร้อนข่าวด่วน" จะกลายเป็น "สินค้าแบกะดิน" เพราะมีขายกันเกลื่อนกลาด และเป็นสิ่งที่ตามไล่ล่าแจกผู้คนที่มีเครื่องมือทันสมัยที่สามารถรับรู้ข่าวสารได้ตลอดทุกนาทีของวันเวลาไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนหรือทำอะไรอยู่
Breaking news จึงเป็นของร้อนเพียงชั่วไม่กี่นาที เพราะจะมีข่าวที่ร้อนกว่าเข้ามาแทนที่ในไม่กี่วินาทีข้างหน้า ดังนั้นข่าวด่วนข่าวเร็วจึงไม่ควรจะเป็น "อาหารจานหลัก" ของคนข่าวที่ต้องการจะสร้าง "คุณค่า" ให้กับงานของตนในวันนี้หรือวันข้างหน้าอีกต่อไป
หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ข่าวร้อนข่าวเร็วนั้นบ่อยครั้งก็เป็นเพียง "ข่าวไฟไหม้ฟาง" เท่านั้น
ผู้บริโภคข่าวจะตีค่าของผลงานเราไม่ใช่ว่าเราสามารถเสนอข่าวร้อนได้เร็วกว่าคนอื่นตั้งหนึ่งวินาทีหรือสองวินาที หากแต่ brand ของงานข่าวจะอยู่ที่ว่าใครสามารถเสนอข่าวที่ลึกกว่า, อธิบายที่มาที่ไปและวิเคราะห์ได้สอดคล้องต้องกับความต้องการของคนที่ติดตามข่าวสารได้มากกว่า
นั่นคือ "ความแตกต่าง" ที่จะตัดสินว่าคนข่าวคนไหนจะได้รับความสนใจและสามารถอยู่ในเวทีแห่งการแข่งขันได้ยาวนานกว่ากัน
ดังนั้น "ข่าวด่วน" จึงสู้ "ข่าวสำคัญ"ที่มีผลต่อความเป็นอยู่หรือวิถีชีวิตของผู้คนไม่ได้
คนข่าวจึงต้องเรียนรู้และฝึกฝนตนเองในการทำรายงานข่าวที่มีลักษณะ "ข่าวยั่งยืน" และ "ข่าวอธิบายความ" ที่บางคนเรียกว่า Evergreen journalism และ Explanatory journalism โดยเน้นที่ข่าวและรายงานซึ่งมีนัยสำคัญต่อสังคม ไม่ใช่เพียงแค่พาดหัวหวือหวาที่เกิดแล้วก็ตายได้ภายในไม่กี่ชัวโมง
Evergreen journalism ย่อมหมายถึงการที่นักข่าวเจาะข่าวที่มีเนื้อหาลุ่มลึกและสามารถดึงดูดความสนใจและความเห็นหลากหลายจากผู้คนที่ติดตาม ยิ่งเมื่ออยู่ในรูปแบบ digital แล้ว รายงานชิ้นนั้น ๆ ก็ยังปรากฏอยู่ในรูปแบบรายงานสดต่อไปได้ยาวนาน และเพิ่มพูนเนื้อหาสาระไปได้ตลอดเวลาตามสถานการณ์และรายละเอียดเพิ่มเติมหรือข้อมูลเสริมจากประชาชนทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ
Explanatory journalism คือรูปแบบการรายงานข่าวที่เน้นการอธิบายเรื่องที่สลับซับซ้อนหรือมีหลายมิติ แม้จะไม่ใช่เรื่องฮิอฮาที่สร้างความเกรียวกราวในพาดหัว แต่เป็นประเด็นที่มีผลกระทบต่อผู้คนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
และนั่นแหละคือ "ข่าวจริง" ที่จะอยู่ยงคงกระพันในโลกสื่อ digital ได้อย่างสง่างามตลอดไปไม่ว่าสื่อเก่าจะถูกท้าทายหนักหน่วงเพียงใดก็ตาม
Sunday, September 4, 2011
ตัวอย่างกติกาการใช้ social media ของนักข่าว Washington Post
หนังสือพิมพ์ Washington Post เพิ่งออก "คู่มือการใช้ social media" ให้คนข่าวของตัวเองหลังจากที่สื่ออื่น ๆ ได้วางกติกาสำหรับการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Facebook หรือ Twitter หรือเครือข่ายสังคมอื่น ๆ
บางแห่งก็เคร่งครัด, อีกบางแห่งก็ค่อนข้างจะเปิดเสรีให้นักข่าวสามารถส่งข้อความที่เป็นทั้งส่วนตัวหรือในนามขององค์กร แต่ Washington Post ดูเหมือนจะเน้นว่าไม่ว่าคุณจะทำในฐานะส่วนตัวหรือไม่, สาธารณชนก็ยังถือว่าคุณเป็นคนของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้อยู่ดี ดังนั้น, อย่าได้แสดงอคติหรือความเห็นใด ๆ ที่คนข่าวไม่พึงจะแสดง และกติกาแห่งการเป็น "มืออาชีพ" เช่นนี้จะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันกับการทำหนังสือพิมพ์หรือทีวีหรือใน social network ทั้งหลาย
ต่อไปนี้คือ "Guidlines" ที่กองบรรณาธิการ Washington Post ประกาศเป็นหลักปฏิบัติในการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายสังคมที่กำลังมีบทบาทต่อการทำงานของคนข่าวยุคดิจิตัลมากชึ้นทุกวัน
The following are effective immediately:
Newsroom Guidelines for Use of Facebook, Twitter and Other Online Social Networks
Social networks are communications media, and a part of our everyday lives. They can be valuable tools in gathering and disseminating news and information. They also create some potential hazards we need to recognize. When using social networking tools for reporting or for our personal lives, we must remember that Washington Post journalists are always Washington Post journalists. The following guidelines apply to all Post journalists, without limitation to the subject matter of their assignments.
Using Social Networking Tools for Reporting
When using social networks such as Facebook, LinkedIn, My Space or Twitter for reporting, we must protect our professional integrity. Washington Post journalists should identify themselves as such. We must be accurate in our reporting and transparent about our intentions when participating. We must be concise yet clear when describing who we are and what information we seek.
When using these networks, nothing we do must call into question the impartiality of our news judgment. We never abandon the guidelines that govern the separation of news from opinion, the importance of fact and objectivity, the appropriate use of language and tone, and other hallmarks of our brand of journalism.
Our online data trails reflect on our professional reputations and those of The Washington Post. Be sure that your pattern of use does not suggest, for example, that you are interested only in people with one particular view of a topic or issue.
Using Social Networking Tools for Personal Reasons
All Washington Post journalists relinquish some of the personal privileges of private citizens. Post journalists must recognize that any content associated with them in an online social network is, for practical purposes, the equivalent of what appears beneath their bylines in the newspaper or on our website.
What you do on social networks should be presumed to be publicly available to anyone, even if you have created a private account. It is possible to use privacy controls online to limit access to sensitive information. But such controls are only a deterrent, not an absolute insulator. Reality is simple: If you don’t want something to be found online, don’t put it there.
Post journalists must refrain from writing, tweeting or posting anything—including photographs or video—that could be perceived as reflecting political, racial, sexist, religious or other bias or favoritism that could be used to tarnish our journalistic credibility. This same caution should be used when joining, following or friending any person or organization online. Post journalists should not be involved in any social networks related to advocacy or a special interest regarding topics they cover, unless specifically permitted by a supervising editor for reporting and so long as other standards of transparency are maintained while doing any such reporting.
Post journalists should not accept or place tokens, badges or virtual gifts from political or partisan causes on pages or sites, and should monitor information posted on your own personal profile sites by those with whom you are associated online for appropriateness.
Personal pages online are no place for the discussion of internal newsroom issues such as sourcing, reporting of stories, decisions to publish or not to publish, personnel matters and untoward personal or professional matters involving our colleagues. The same is true for opinions or information regarding any business activities of The Washington Post Company. Such pages and sites also should not be used to criticize competitors or those who take issue with our journalism or our journalists.
If you have questions about any of these matters, please check with your supervisor or a senior editor.
NOTE: These guidelines apply to individual accounts on online social networks, when used for reporting and for personal use. Separate guidelines will follow regarding other aspects of Post journalism online
Thursday, September 1, 2011
ใครบอกว่าสิ้นยุคพิมพ์ดีดแล้ว?
ใครบอกว่าเครื่องพิมพ์ดีดหมดไปจากโลกนี้แล้ว?
นี่ครับ, ที่กรุงเดลฮี, อินเดีย, มันยังเป็นอุปกรณ์สำหรับการพิมพ์ข้อความของเจ้าหน้าที่ศาลบางแห่งในการรายงานรายละเอียดของคดี
และในกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ของอินเดีย,ซึ่งมีชื่อเสียงยาวนานเรื่องระบบราชการที่ต้องเก็บเอกสารเป็นกอง ๆ (ไม่ว่าจะมีใครเอาไปใช้หรือไม่
ก็ตาม) ทำให้เจ้าหน้าที่จำนวนไม่น้อยยังยืนยันว่าจะต้องพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ดีดโบราณเพราะหลายแห่งยังไม่มีงบประมาณสำหรับ
คอมพิวเตอร์
นอกจากระบบราชการคร่ำครึของอินเดียที่ทำให้เครื่องพิมพ์ดีดยังไม่หายไปจากที่นั่น คนอายุวัยเกิน 50 และหนุ่มสาวในชนบทจำนวนไม่น้อยยังใช้
พิมพ์ดีดสำหรับการพิมพ์เอกสารทั้งของส่วนตัวและที่สำนักงาน
ต้องไม่ลืมว่าที่อินเดียซึ่งมีประชากรเกิน 1,000 ล้านคนวันนี้, ยังมีอีกไม่น้อยกว่า 400 ล้านคนที่อยู่ในหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้
ในภาวะที่ไม่มีไฟฟ้าหรือไฟฟ้าติด ๆ ดับ ๆ นั้น, จะมีอะไรน่าไว้วางใจได้เท่ากับ "อีแก่" หรือพิมพ์ดีดผู้ซื่อสัตย์เล่า?
และเชื่อหรือไม่ว่ารัฐบาลท้องถิ่นหลายแห่งในเดลฮี, มุมไบและกัลกัตตา, ใครมาสมัครงานราชการก็ยังต้องสอบพิมพ์ดีดก่อนได้รับการบรรจุเข้า
ทำงาน
ซึ่งย่อมแปลว่ายังมีช่องว่างสำหรับโรงเรียนสอนพิมพ์ดีด, ร้านขายพิมพ์ดีดมือสองและช่างซ่อมพิมพ์ดีดอยู่
ครับ อินเดียมีทั้งเมืองทันสมัยพร้อมไฮเทคล่าสุดตั้งอยู่เคียงคู่กับเมืองที่ยังใช้พิมพ์ดีดโบราณเพื่อทำงานประจำวันไม่ต่างจากเมื่อร้อยสองร้อยปีก่อน
ผมจำได้ว่า ตอนเรียนหนังสือ จะสอบผ่านวิชาพิมพ์ดีดได้ต้องไม่ต่ำกว่า 60 คำต่อนาที
วันนี้ คนที่เป็นแชมป์พิมพ์ดีดของอินเดียพิมพ์ได้นาทีละ 117 คำ!
Subscribe to:
Posts (Atom)