Wednesday, October 23, 2013
Tuesday, October 8, 2013
มาแล้ว Nielsen Twitter TV Ratings
และแล้ว Nielsen ซึ่งวัดจำนวนคนดูทีวีมาหลายสิบปีจากหน้าจอทีวีอย่างเดียวก็ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลง...คนทั่วไปไม่ได้ดูจอทีวีอย่างเดียวอีกต่อไป หากแต่เสพเนื้อหาผ่าน Second Screen มากขึ้นจนกลายเป็นพฤติกรรมที่ปฏิเสธไม่ได้แล้ว
คำว่า "จอที่สอง" หมายถึงทุกจอที่ไม่ใช่จอทีวี ไม่ว่าจะเป็นมือถือ, แทบเบล็ท, โน็ตบุ๊คหรือจอกลางแจ้งทั้งหลายทั้งปวงที่ก่อให้เกิดการใช้ social media เพื่อแสดงความเห็นหรือแบ่งปันกับเพื่อนและผู้อยู่ร่วมเครือข่ายสังคมไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์, เฟซบุ๊คหรือเครื่องมือการสร้างปฏิสัมพันธ์ในโลกออนไลน์ทุกอย่าง
แต่ก่อน Nielsen วัดได้แต่เพียงจำนวนคนดูหน้าจอทีวีแต่เพียงอย่างเดียว แต่พฤติกรรมการเสพสื่อของคนปัจจุบันได้เปลี่ยนไปจนการวัด audience ratings แบบเก่าไม่สามารถตอบโจทย์ของนักการตลาดและนักวิเคราะห์ความนิยมของผู้คนได้อีกต่อไป
เมื่อวานนี้่ Nielsen ประกาศจับมือกับ Twitter เพื่อสร้าง Nielsen Twitter TV Rating เพื่อหาวิธีการวัดความนิยมของคนดูทีวีผ่านการทวิตในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ Retweet หรือการแสดงความเห็นต่อรายการทีวีที่ดูอยู่หรือที่เพื่อนส่งมาให้ดูต่อก็ตาม
ความหมายของคำว่า Metrics และ Benchmark ในการประเมินพฤติกรรมคนดูทีวีจึงปรับเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง
การวัดความนิยมของคนดูต่อรายการจึงไม่เพียงแต่ประเมินจากการที่คนดูแสดงความเห็นต่อเนื้อหาที่ดูหน้าจอทีวี (ซึ่งอาจจะดูจากคลิบในมือถือหรือแทบเบล็ท ไม่จำเป็นต้องนั่งอยู่หน้าจอทีวีเหมือนแต่ก่อน) เท่านั้น หากแต่ยังรวมไปถึงการวัดจำนวนและคุณภาพของคนทุกคนที่ได้รับข้อความผ่านทวีตเกี่ยวกับสาระและเนื้อหานั้น ๆ อีกด้วย
จึงเป็นการตอกย้ำถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงระหว่างทีวีกับโซเชียลมีเดียอย่างลึกซึ้งมากขึ้นตามลำดับ
นีลสันวิเคราะห์แล้ว พบว่าจำนวนคนดูโดยเฉลี่ยผ่านทวิตเตอร์ของรายการดัง ๆ ใน NBC เช่น The Voice มีมากกว่าคนที่ทวิตถึง 50 เท่า
จึงเป็นที่มาของการที่องค์กรวัด Ratings ทีวีเก่าแก่อย่าง Nielsen อยู่นิ่งเฉยไม่ได้ ต้องกระโดดเข้ามาวัดความนิยมของคนดูรายการทีวีผ่านทวิตเตอร์อย่างชนิดที่ช้าไม่ได้อีกต่อไป
ทวิตเตอร์ทุกเปรียบเสมือนที่ชุมนุมของคนทั้งหลายที่แลกเปลี่ยนความเห็นต่อรายการทีวีสด ๆ นาทีต่อนาทีโดยเฉพาะเมื่อมีรายการร้อน ๆ เช่นตอนจบของหนังได้รางวัลเอมมี่อย่าง Breaking Bad หรือรายการกีฬาระดับโลกเช่น Super Bowl
นีลสันบอกว่าคนอเมริกันประมาณ 19 ล้านคนส่งข้อความในทวิตเตอร์กว่า 263 ล้านทวิตเกี่ยวกับรายการทีวีในช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้ หรือกระโดดขึ้น 38% ของจำนวนข้อความทวีตเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนเดียวกันในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น
ปรากฎการณ์ใหม่นี้สะท้อนว่าทวิตเตอร์และเฟซบุ๊คกำลังกลายเป็น "ใจกลางของการแลกเปลี่ยนความเห็นและข้อมูล" เกี่ยวกับการดูทีวีอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ
อีกทั้งยังเป็นการยืนยันว่าพฤติกรรมผู้ดูทีวีวันนี้เป็นการเสพเนื้อหามากกว่าหนึ่งจออย่างแน่นอน
และเมื่อพูดถึง "ดูทีวี" ก็ย่อมหมายถึงการ "ดูวีดีโอคลิบ" ทุกเรื่องในทุกสถานการณ์เช่นกัน
สำหรับคนข่าวเนชั่นที่กำลังซ้อมใหญ่สำหรับการเปิดตัวของดิจิตัลทีวี, นี่คือ Second Screen ที่จะเสริมส่งให้การผลิตเนื้อหาทางทีวีเพิ่มความคึกคักขึ้นอีกหลายชั้นทีเดียว
คำว่า "จอที่สอง" หมายถึงทุกจอที่ไม่ใช่จอทีวี ไม่ว่าจะเป็นมือถือ, แทบเบล็ท, โน็ตบุ๊คหรือจอกลางแจ้งทั้งหลายทั้งปวงที่ก่อให้เกิดการใช้ social media เพื่อแสดงความเห็นหรือแบ่งปันกับเพื่อนและผู้อยู่ร่วมเครือข่ายสังคมไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์, เฟซบุ๊คหรือเครื่องมือการสร้างปฏิสัมพันธ์ในโลกออนไลน์ทุกอย่าง
แต่ก่อน Nielsen วัดได้แต่เพียงจำนวนคนดูหน้าจอทีวีแต่เพียงอย่างเดียว แต่พฤติกรรมการเสพสื่อของคนปัจจุบันได้เปลี่ยนไปจนการวัด audience ratings แบบเก่าไม่สามารถตอบโจทย์ของนักการตลาดและนักวิเคราะห์ความนิยมของผู้คนได้อีกต่อไป
เมื่อวานนี้่ Nielsen ประกาศจับมือกับ Twitter เพื่อสร้าง Nielsen Twitter TV Rating เพื่อหาวิธีการวัดความนิยมของคนดูทีวีผ่านการทวิตในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ Retweet หรือการแสดงความเห็นต่อรายการทีวีที่ดูอยู่หรือที่เพื่อนส่งมาให้ดูต่อก็ตาม
ความหมายของคำว่า Metrics และ Benchmark ในการประเมินพฤติกรรมคนดูทีวีจึงปรับเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง
การวัดความนิยมของคนดูต่อรายการจึงไม่เพียงแต่ประเมินจากการที่คนดูแสดงความเห็นต่อเนื้อหาที่ดูหน้าจอทีวี (ซึ่งอาจจะดูจากคลิบในมือถือหรือแทบเบล็ท ไม่จำเป็นต้องนั่งอยู่หน้าจอทีวีเหมือนแต่ก่อน) เท่านั้น หากแต่ยังรวมไปถึงการวัดจำนวนและคุณภาพของคนทุกคนที่ได้รับข้อความผ่านทวีตเกี่ยวกับสาระและเนื้อหานั้น ๆ อีกด้วย
จึงเป็นการตอกย้ำถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงระหว่างทีวีกับโซเชียลมีเดียอย่างลึกซึ้งมากขึ้นตามลำดับ
นีลสันวิเคราะห์แล้ว พบว่าจำนวนคนดูโดยเฉลี่ยผ่านทวิตเตอร์ของรายการดัง ๆ ใน NBC เช่น The Voice มีมากกว่าคนที่ทวิตถึง 50 เท่า
จึงเป็นที่มาของการที่องค์กรวัด Ratings ทีวีเก่าแก่อย่าง Nielsen อยู่นิ่งเฉยไม่ได้ ต้องกระโดดเข้ามาวัดความนิยมของคนดูรายการทีวีผ่านทวิตเตอร์อย่างชนิดที่ช้าไม่ได้อีกต่อไป
ทวิตเตอร์ทุกเปรียบเสมือนที่ชุมนุมของคนทั้งหลายที่แลกเปลี่ยนความเห็นต่อรายการทีวีสด ๆ นาทีต่อนาทีโดยเฉพาะเมื่อมีรายการร้อน ๆ เช่นตอนจบของหนังได้รางวัลเอมมี่อย่าง Breaking Bad หรือรายการกีฬาระดับโลกเช่น Super Bowl
นีลสันบอกว่าคนอเมริกันประมาณ 19 ล้านคนส่งข้อความในทวิตเตอร์กว่า 263 ล้านทวิตเกี่ยวกับรายการทีวีในช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้ หรือกระโดดขึ้น 38% ของจำนวนข้อความทวีตเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนเดียวกันในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น
ปรากฎการณ์ใหม่นี้สะท้อนว่าทวิตเตอร์และเฟซบุ๊คกำลังกลายเป็น "ใจกลางของการแลกเปลี่ยนความเห็นและข้อมูล" เกี่ยวกับการดูทีวีอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ
อีกทั้งยังเป็นการยืนยันว่าพฤติกรรมผู้ดูทีวีวันนี้เป็นการเสพเนื้อหามากกว่าหนึ่งจออย่างแน่นอน
และเมื่อพูดถึง "ดูทีวี" ก็ย่อมหมายถึงการ "ดูวีดีโอคลิบ" ทุกเรื่องในทุกสถานการณ์เช่นกัน
สำหรับคนข่าวเนชั่นที่กำลังซ้อมใหญ่สำหรับการเปิดตัวของดิจิตัลทีวี, นี่คือ Second Screen ที่จะเสริมส่งให้การผลิตเนื้อหาทางทีวีเพิ่มความคึกคักขึ้นอีกหลายชั้นทีเดียว
Tuesday, October 1, 2013
ยุทธศาสตร์ 5 จอ
เครือเนชั่น"ย้ำวิชั่นลุยดิจิทัลมีเดีย ชูกลยุทธ์โฟกัส 5 หน้าจอ ผสานห้องข่าวคอนเวอร์เจนท์ "สุทธิชัย"ชี้ไม่ปรับตัวมีโอกาสตาย
นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (NMG) กล่าวในการบรรยายหัวข้อ "Digital Yours" งาน "ซอฟต์แวร์ เอ็กซ์โป เอเชีย 2013" ว่า เครือเนชั่นเดินหน้าบุกหนักสมรภูมิดิจิทัลมีเดีย บนภูมิทัศน์สื่อใหม่ซึ่งมีทีวีดิจิทัลเป็นจุดโฟกัส รับมือเทคโนโลยีสมัยใหม่โดยเฉพาะโมบาย ที่ค่อยๆ ผลักดันให้แวดวงสื่อสารมวลชนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ เนื่องจากเดิมที่ คำว่า "NEWS" มาจาก North, South, East และ West ปัจจุบันกลายเป็น NOW, Everywhere, Why wait? และ Share it ตามลำดับ
นอกจากนี้ ไม่มีใครสามารถควบคุมการไหลของโซเชียล มีเดียได้ การเปลี่ยนแปลงที่ก้าวกระโดดดังกล่าวส่งผลให้เครือเนชั่นเร่งปรับกลยุทธ์โดยก่อตั้ง “Convergent Newsroom” ขึ้นมาเพื่อดึงจุดแข็งของทีมงานพร้อมผสานการทำงานระหว่างห้องข่าวทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เว็บไซต์ รวมถึงสื่ออื่นๆ ที่มีอยู่ในเครือเข้าไว้ด้วยกัน
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์สำคัญวางจุดโฟกัสไว้ที่ 5 หน้าจอหลัก (5-Screen Strategy) คือ โทรทัศน์, แทบเล็ต, คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และสื่อดิจิทัลที่อยู่ภายนอกสถานที่ มองว่าขณะที่สื่อมวลชนสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขึ้น ทุกช่องทาง ทุกเวลา ผู้มีบริโภคเองมีตัวเลือกที่หลากหลาย โดยมีคอนเทนท์เป็นพระราชา ทุกช่วงเวลาคือไพรม์ไทม์ โมบายได้เข้าไปแทรกซึมทุกจังหวะของชีวิตตั้งแต่ตื่นนอน การนำเสนอข่าวจึงต้องเป็นรูปแบบมัลติมีเดียแพลตฟอร์ม ขณะที่ช่วงปลายปีนี้แวดวงสื่อจะยิ่งตื่นเต้นมากขึ้นเมื่อวงการทีวีถูกปฏิวัติไปสู่ทีวีดิจิทัล โดยเนชั่นหวังเป็นส่วนหนึ่งในนั้นด้วย
Subscribe to:
Posts (Atom)