Sunday, January 8, 2017

วันนี้ของ 'คนบ้าข่าว'...สด, ทุกที่, ทุกเวลา


เมื่อสื่อถูก "ป่วน" (disrupt) ด้วยเทคโนโลยีอย่างรุนแรง รูปแบบการนำเสนอก็พลอยแปรเปลี่ยนไปอย่างหนักหน่วง คนทำสื่อก็ต้องปรับตัวด้วยการเน้นคุณภาพของเนื้อหาที่ผิดแผกไปจากข่าวกระแสทั่วไป และพร้อมจะผลิตเนื้อหาผ่าน platform ทุกประเภทอย่างไม่ลังเล
เมื่อหลายปีก่อน ผมเริ่มใช้โทรศัพท์มือถือ รายงาน, วิเคราะห์และสัมภาษณ์ประเด็นข่าวเพื่อนำขึ้นจอโทรทัศน์และ YouTube โดยใช้มุมใดมุมหนึ่งที่บ้านเป็น "ห้องส่ง" โดยไม่จำเป็นต้องมี Studio หรูหราราคาแพงตามแนวคิดของเจ้าของสถานีโทรทัศน์ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือดเรื่อง "หน้าจอ" ด้วยงบประมาณมหาศาลที่ไหลออกนอกประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่
ผมพยายามบอกคนข่าวรุ่นใหม่ให้กระโดดเข้าใส่อุปกรณ์พกพาทุกรูปแบบที่สามารถช่วยในการผลิตข่าวโดยฝึกฝนตนเองเป็น Mobile Journalist (Mojo) โดยไม่ต้องยึดติดกับรูปแบบการทำงานของคนทำทีวีแบบเดิม
ความอยู่รอดของคนทำสื่อในยุค Perfect Storm ที่พายุแห่งความเปลี่ยนแปลงถาโถมจากทุกทิศทางอยู่ที่คนข่าวแต่ละคนจะต้องบอกตัวเองให้ออกจาก "comfort zone" หรือการทำงานในวิถีเดิม ๆ



คนข่าวส่วนใหญ่รับรู้ถึงความจำเป็นที่ต้องปรับต้องเปลี่ยน แต่น่าเสียดายว่าในกรณีส่วนใหญ่ "แรงเฉื่อย" ยังมีอิทธิพลสูงว่า "แรงเร่ง" จึงเป็นเหตุให้คนข่าวจำนวนไม่น้อย "ดูเหมือนจะปรับแต่ไม่ยอมเปลี่ยน"

แต่เทคโนโลยีไม่คอยให้คนข่าว "พร้อม" จึงจะรุกไล่ต่อ มันยังเดินหน้าสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทายความกล้าและมุ่งมั่นของคนทำสื่ออย่างไม่หยุดยั้ง


สำหรับคนทำหนังสือพิมพ์ที่ไม่ทำสร้างเนื้อหาวีดีโอ และไม่เรียนรู็ฝึกฝนการเล่าเรื่อง (story-telling) ให้ทันกับพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนไป, สถิติของคนที่หันเหไปเสพข่าวและเนื้อหาในมือถือ ผละจากสื่อสิ่งพิมพ์และแม้จอทีวีอย่างรวดเร็วและรุนแรงสร้างความตระหนกในแวดวงคนทำข่าวจนทำได้แต่เพียงอุทานว่า "ไม่นึกว่ามันจะมาเร็วเพียงนี้"
ไม่กี่ปีก่อนนี้เอง วงการคนทำทีวียังพูดถึงทีวีเป็น First Screen, แล็บทอปเป็น Second Screen และมือถือเป็น Third Screen
ผ่านมาเพียงไม่กี่ปี, วันนี้ "จอแรก" ไม่ใช่ทีวี หากแต่เป็นมือถือที่ทุกคนสามารถแสวงหาเนื้อหาข้อมูลทุกรูปแบบได้ตลอดเวลา ในรูปแบบ anywhere, anytime



คำว่า "ถ่ายทอดสด" ของทีวีและวิทยุเปลี่ยนความหมายมาหลายปีแล้วเมื่อเริ่มมีอุปกรณ์ขนาดเล็กที่นักข่าวและช่างภาพสามารถแบกไปกับตัวได้อย่างคล่องแคล่ว



แต่ภายในไม่กี่ปีต่อมา เมื่อ social media เพิ่มความสามารถในการทอดถ่ายสด เริ่มด้วยทวิตเตอร์เพิ่ม Periscope ตามมาด้วย Facebook Live โลกของการสื่อสารก็พลันพลิกตาลปัตร



สำหรับคนทำข่าวที่พร้อมจะปรับพร้อมจะทดลองกับของใหม่ ๆ และใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการทำหน้าที่ ทำการบ้านหนักขึ้นเพื่อผลิตเนื้อหาทั้งภาพ, เสียงและตัวหนังสือที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนไป และตรงกับความต้องการเฉพาะด้านของผู้คน นี่คือโอกาสทองที่มาพร้อมกับการปฏิวัติการสื่อสารระหว่างมนุษย์ครั้งยิ่งใหญ่


เมื่อได้เวลาวางมือจากงานบริหารที่คนรุ่นต่อไปรับไม้ต่อแล้ว, ผมก็ทุ่มเวลาและพลังให้กับความเป็น "คนบ้าข่าว" ในจังหวะที่ทุกคนกำลังประสบกับภาวะความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตประจำวันในอัตราความเร่งอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน
นอกเหนือจากเขียนคอลัมน์หนังสือพิมพ์, ทำคลิบเสียงประจำวัน, และทำรายการโทรทัศน์แล้ว ผมก็ใช้ Facebook Live และ Periscope กับอุปกรณ์ไฮเทคทุกประเภทในการวิเคราะห์, รายงาน, เล่าเรื่องราวสด ๆ เพื่อเสริมการทำหน้าที่ของคนข่าวยุค digital ที่ทั้งสนุก, ท้าทายและเติมเต็มการทำหน้าที่คนข่าว
อย่าให้ใครบอกคนทำข่าววันนี้ว่า "ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา"...เพราะถ้าเห็นโลงศพ, ก็หลั่งน้ำตาไม่ทันเสียแล้ว...ต้องเผาเลย!

Tuesday, August 9, 2016

โอลิมปิกส์: นักข่าวก็ต้องแข่งชิงเหรียญทองทำข่าว!

 
รูปแบบการเสนอข่าวกีฬาโอลิมปิกส์ของสื่อระดับโลกครั้งนี้น่าศึกษาวิเคราะห์ เพราะขณะที่นักกีฬาแข่งกันระดับโลกอย่างเข้มข้น สื่อเองก็ต้องแย่งชิงเหรียญทองกันอย่างคึกคัก ไม่มีใครยอมแพ้ใคร จึงเกิดนวัตกรรมการรายงานข่าวที่น่าตื่นตาตื่นใจยิ่ง
 
Nieman Reports ส่งรายงานมาอย่างนี้
 
 
New York Times ใช้วิธีการ texting with readers คือการส่ง updates ผลการแข่งขันผ่าน SMS ตลอดการแข่งขันทุกประเภทใหญ่ ๆ...แต่แน่นอนว่าเพียงแค่ส่งผลการแข่งขันล่าสุดเท่านั้นไม่พอ เพราะใคร ๆ ก็ทำได้ คนข่าวจะต้องใส่สีสันและความเป็นส่วนตัวของ ข่าวที่ส่งวันละ 3-4 ชิ้นจะต้องเป็นรูปแบบ smartphone snapshots, GIFs, emoji เพื่อให้รู้สึกว่านักข่าวคนนั้นรายงานจากข้างสนามสำหรับเราจริง ๆ
Times สร้างความตื่นเต้นในการนำเสนอด้วยการทำกราฟฟิก interactive เพื่อตอกย้ำความพิเศษสุดของฝีมือนักกีฬาอย่างน้อยสี่ประเภทคือ ว่ายน้ำ, gymnastics, high jump กับ triple jump.
คืนก่อนเปิดการแข่งขัน คณะกรรมการโอลิมปิกส์สากลประกาศห้ามการส่งภาพ GIFs ที่ไม่ได้รับอนุญาตทางการขึ้นใน social media แต่คนทำสื่อย่อมต้องหาทางออกจากอุปสรรคที่ขวางกั้นเสมอ จึงใช้กราฟฟิกในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำเสนอสีสันและสถิติของการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง
Washington Post ใช้หุ่นยนต์หรือ Bots รายงานข่าว อันหมายถึงการใช้ "ปัญญาประดิษฐ์" หรือ artificial intelligence (AI) มาเสริมทีมในการรายงานข่าว
เขาเรียกเครื่องมือนี้ว่า Heliograf พัฒนาโดยทีมวิศวกรรมของวอชิงตันโพสต์ ซึ่งสามารถดึงเอาข้อมูลที่เกี่ยวกับผลการแข่งขันและจำนวนเหรียญที่แต่ละประเทศได้จากแต่ละประเภทการแข่งขัน
นี่คือการใช้ "หุ่นยนต์" ทำหน้าที่เป็นนักข่าวในระดับหนึ่ง บก. วอชิงตันโพสต์ยืนยันว่าไม่มีแผนที่จะเอาหุ่นยนต์มาทำหน้าที่แทนมนุษย์ในการรายงานข่าวทั้งหมดแน่นอน แต่อะไรที่ AI ช่วยในการรวบรวมและสรุปข้อมูลพื้นฐานได้ ก็จะเริ่มทดลองทำเพื่อประสิทธิภาพและความรวดเร็วสูงสุด
 
อีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ผู้คนติดตามข่าวกีฬาระดับโลกได้อย่างสนุกสนานก็คือการอธิบายด้วยภาพและคำอธิบายที่โยงใยกับชีวิตประจำวัน
เช่นวาดภาพให้เห็นว่าลูกบอลในกีฬา Handball นั้นมีขาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5 นิ้ว เหรือเท่ากับครึ่งของพิซซ่ายักษ์หนึ่งถาด...เมื่อมีภาพกราฟฟิกประกอบดูง่าย เข้าใจเร็ว ก็ทำให้การติดตามข่าวสารในยุคดิจิตัลผ่านมือถือเป็นไปอย่างสนุกสนานน่ารื่นเริง
The Guardian ของอังกฤษใช้วิธี push alerts อันหมายถึงการส่งข้อความสั้น ๆ ไปถึงผู้ติดตามข่าวสารของเขาเป็นระยะ ๆ ลักษณะบอกกล่าวข่าวสารอย่างเร่งร้อนรวดเร็ว
The Guardian มีหน่วยงานที่เรียกว่า The Guardian Mobile Innovation Lab หรือ "ห้องทดลองนวัตกรรมโมบาย" ที่ได้คิดวิธีการสร้างความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้บริโภคด้วยการส่งข้อความสั้นที่เรียกว่า push notifications
เมื่อมีจังหวะของการรายงานข่าวกีฬาระดับโลกเขาจึงทดลองใช้ push alerts เพื่อส่งข่าวคราวเรื่องผลการได้เหรียญของแต่ละประเภท, สถิติล่าสุดของแต่ละประเทศ, การสำรวจล่าสุดตลอดไปจนถึงการเล่นเกมและตอบคำถามต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการแข่งขันครั้งนี้
 
การสร้างเกมส์ให้ผู้ติดตามข่าวสารได้ร่วมเล่นด้วยอย่างสนุกก็เป็นกลยุทธ์อีกทางหนึ่ง
The Guardian สร้าง podcast (รายการผ่านเสียง) ที่เรียกว่า RioRun โดยที่ให้คนติดตามฟัง podcast นี้ร่วมวิ่ง "มาราธอนรีโอ" มีความยาว 26.2 ไมล์ตลอดช่วงการแข่งขันโอลิมปิกส์...โดยที่ขณะที่ผู้ฟัง podcast นี้วิ่งไป คนข่าวของ The Guardian และคนอื่น ๆ ก็จะนำเสนอข่าวสารสีสันข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขันโอลิมปิกส์และคำแนะนำเกี่ยวกับการวิ่งมาราธอนไปพร้อม ๆ กัน
ส่วน Wall Street Journal มีเกม Armchair Olympian ซึ่งเป็นเกม interacive ให้คนเล่นทดสอบความสามารถของตัวเองผ่าน apps นี้ในการแข่งขันบางประเภทเช่นวิ่ง, กระโดดไกล, พายเรือ ต่าง ๆ เป็นต้น
 
ถือว่าติดตามข่าวการแข่งขันของมืออาชีพไป ตัวเองก็สามารถทดลองความสามารถของตัวเองในกีฬาประเภทต่าง ๆ ไปด้วยพร้อม ๆ กัน
 
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ๆ กัน
 
 
 
 
 

 
 


Sunday, July 31, 2016

CEO กับความปั่นป่วนแห่งความเปลี่ยนแปลง

คุณอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารไทยพาณิชย์ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ล่าสุด ยืนยันว่าความอยู่รอดขององค์กรในภาวะความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงนั้นจะต้อง "ปรับตัว ทำใหม่หมด"
เขาใช้คำว่า transformation ซึ่งหากจะให้ตรงความหมายจริงอาจต้องใช้คำว่า complete transformation
อันเป็นภารกิจที่หนักหน่วงยากเย็นและต้องฟันฝ่าอย่างที่ไม่เคยเห็นไม่เคยพานพบมาก่อน
คุณอาทิตย์พูดได้ตรงมาก บอกว่า "การได้มาของผลประกอบการทุกวันนี้มาด้วยการสั่งสมบุญเก่า ไม่ว่าจะเป็นฐานลูกค้าในทุกกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ดีต่อกันมานาน..."
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ธนาคารไทยพาณิชย์จึงต้องมี "กระบวนการเปลี่ยนแปลงตัวเอง...แต่กระบวนการนั้นจะรุนแรงรวดเร็วทันกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในโลกหรือไม่ ยังตอบไม่ได้ สิ่งนี้คือแบบฝึกหัดที่กำลังทำกันอยู่ในองค์กร"
คำว่า "กระบวนการเปลี่ยนแปลงตัวเอง" อาจจะมาจากศัพท์แสงใหม่ในแวดวงผู้เกาะติดโลกดิจิตัลทุกวันนี้ นั่นคือ disruption
คำว่า disruption ผมแปลเองว่าคือ "การป่วน" ให้ของเดิมต้องเปลี่ยนอย่างรุนแรง
บางคนคิดว่าเทคโนโลยีมา disrupt จากข้างนอก จึงคอยปรับให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง แต่ความจริงการจะอยู่รอดในสถานการณ์แห่งความปั่นป่วนนั้นทุกองค์กรต้องเริ่มด้วยการ "ป่วนตัวเอง" หรือ disrupt yourself ก่อน
นั่นคือการปรับโครงสร้างการทำงาน การนิยามบทบาทหน้าที่ใหม่ของทุกคน และการเขียน job description ใหม่สำหรับทุกคนตั้งแต่ CEO ไปถึงพนักงานเดินสาร
ซึ่งเป็นงานยากที่สุด เพราะนั่นหมายถึงการยกเครื่องวัฒนธรรมทางความคิดและวิธีการทำงานโดยสิ้นเชิง
วัฒนธรรมไทยโดยพื้นฐานแล้วจะยืนอยู่คนละข้างกับการปรับเปลี่ยนอย่างหนักหน่วงเช่นนี้
เพราะความสะดวกสบายเป็นหลักคิดดั้งเดิมที่เปลี่ยนยากยิ่ง
ทุกคนอยู่ใน comfort zone ของตัวเอง การพยักหน้ารับฟังและเข้าใจว่าจะต้องเปลี่ยนไม่ได้แปลว่าความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น
จึงน่าสนใจที่คุณอาทิตย์ในฐานะ CEO บอกว่าเขาได้เริ่มกระบวนการความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยการจัดโปรแกรมให้ผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร 20 คน รวมตัวเองเป็น 21 คน นั่งคุยกันทุกวันตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงเที่ยง เป็นเวลา 100 วัน เพื่อร่วมกันสร้างข้อตกลง ปลดล็อก เปลี่ยนน็อตในองค์กรว่าจะเปลี่ยนน็อตตัวไหนก่อน จะถอดชิ้นไหนออกมา
"ความท้าทายของจุดเริ่มต้นนี้อยู่ที่ทำอย่างไรที่เมื่อตกลงกันในห้องแล้ว เมื่อผู้บริหารแต่ละส่วนเดินออกจากห้อง จะไม่กลับไปทำเหมือนเดิม ทำเท่าเดิมตามความคิดเดิม..."
คุณอาทิตย์ยอมรับว่าเรื่องนี้ไม่ง่ายเลย เพราะไทยพาณิชย์เป็นที่รวมของจอมยุทธ์ทั่วแผ่นดิน ยิ่งเป็นจอมยุทธ์ ยิ่งมีความเชื่อมั่นในตัวเอง
ท้ายที่สุดเป้าหมายของการปรับตัวขนานใหญ่อย่าที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ 110 ปีของไทยพาณิชย์คือ "ความอยู่รอด"
วลีเด็ดที่สะท้อนถึงความตระหนักถึงสัจธรรมโลกใหม่วันนี้ของคุณอาทิตย์ที่ต้องขีดเส้นใต้ เพราะมันใช้สำหรับทุกองค์กร ทุกหน่วยงานและคนทำงานทุกวิชาชีพวันนี้คือ
"สถานการณ์ ณ ขณะนี้ไม่ได้บอกว่าถ้าเราทำกำไรสูงสุดได้ทุกปี เราจะอยู่รอด..."
 

Saturday, March 5, 2016

No readers, No money, No ideas

ภาพบรรยากาศอันแสนเศร้าในกองบรรณาธิการของ Chicago Daily News เมื่อประกาศปิดกิจการเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 1978
เหตุเกิดเมื่อ 38 ปีก่อน ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ไม่มีอินเตอร์เน็ท ไม่มี iPhone, iPod หรือ iPad ไม่มีมือถือ แต่ยอดขายหนังสือพิมพ์ร่วงหล่นอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนโยกย้ายไปอยู่นอกเมือง รถส่งหนังสือไปไม่ถึงตอนเช้า กว่าจะถึงก็บ่ายแล้ว คนอเมริกันตอนนั้นดูทีวีตอนบ่าย หนังสือพิมพ์มาช้าก็เลิกอ่าน
หนึ่งในนักข่าวสมัยนั้นที่ยังมีชีวิตอยู่วันนี้ Alan Mutter เขียนในบล็อก Newsosaur ว่า
"เมื่อคนอ่านย้ายไปนอกเมืองและหนังสือพิมพ์ส่งไม่ทันตอนเช้า, ยอดคนอ่านก็ตก เราเปลี่ยนผู้บริหาร แต่ยอดขายก็ยังตกต่อเนื่อง เราปรับเปลี่ยนหน้าตาของหนังสือพิมพ์ ยอดขายก็ยังร่วงต่อ เราปรับเนื้อหาหลาย ๆ ด้าน แต่ยอดขายก็ยังหดหายไม่หยุดยั้ง...ในที่สุด ก็ไม่มีอะไรเหลือให้ทำได้ คนตกงานประมาณ 300 และเมืองชิคาโกก็สูญเสียหนังสือพิมพ์ชั้นนำฉบับหนึ่งไป..."


เขาสรุปว่า

This is what happens when you run out of
readers, revenues and ideas all at the same time

 
 
 
นี่คือโศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อคุณไร้ซึ่งคนอ่าน, ไร้ซึ่งรายได้, และไร้ซึ่งความคิดที่จะแก้วิกฤต...พร้อม ๆ กัน





Sunday, February 21, 2016

เมื่อ New Yorker ทำ TV

The New Yorker Presents เป็นรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของนิตยสารรายสัปดาห์ชื่อดังยาวนานมา 90 ปีผ่านสารคดีร่วมมือกับ Amazon Prime Video
ทุกตอนของ New Yorker Presents เดินเรื่องเสมือนเป็นนิตยสารวีดีโอ มีทั้งสารคดีสั้น, การ์ตูน, คลิบหนึ่งนาที, บทกวี, และเรื่องสั้น/นิยายซึ่งเป็นจุดขายของนิตยสารฉบับนี้มาช้านาน
เป้าหมายที่วางเอาไว้คือการสร้างความสนใจให้คนมาอ่าน New Yorker มากขึ้น และ Amazon Prime Video ก็หวังจะได้คนดูสร้างรายได้จากการ livestreaming
ภายใต้หัวข้อยาวเหยียด "The New Yorker on Amazon Isn't just TV. It's a Whole New Kind of Magazine" บทความในนิตยสารเองก็บอกว่า Like many publications today, The New Yorker is experiemnting ways of telling stories to reach a broader audience as the number of options available to that audience grows, thanks in no small part to streaming services like Amazon Prime.
แปลว่าเขากำลังทดลองวิธีการต่าง ๆ เพื่อการ "เล่าเรื่อง" ให้คนจำนวนมากขึ้นในขณะที่มีทางเลือกให้กับผู้บริโภคหลากหลายเพิ่มเติม และหนึ่งในบริการใหม่ ๆ นั้นก็คือบริการสตรีมมิ่งของ Amazon Prime นี่เอง
การปรับตัวอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการสร้างเนื้อหาเป็นสารคดีย่อมต้องการการทำงานร่วมกันของหลายฝ่าย ตั้งแต่นักเขียน, บรรณาธิการ, ผู้กำกับ, ผู้สร้างหรือ producers
รวมไปถึงผู้เขียนบทที่มีความชำนาญแปรเนื้อหาตัวหนังสือเป็นภาพเคลื่อนไหวที่สามารถตรึงความสนใจของผู้คนในยุคดิจิตัลที่มีสมาธิสั้นลงและชีวิตประจำวันที่ถูกยื้อแย่งโดยเนื้อหาทางมือถือตลอดเวลา
ทำให้ผมต้องพิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างหน้าที่ของ Editor กับ Product Manager ที่สื่อบางแห่งในอเมริกาต้องตั้งขึ้นใหม่เพื่อวางแนวทางการนำเสนอเนื้อหาจากสื่อดั้งเดิมมาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้คนที่ปรับเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา
บรรณาธิการน้อยคนจะสามารถสวมบทเป็น "ผู้บริหารโครงการ" ในกองบรรณาธิการได้...บ่อยครั้งแม้ชื่อตำแหน่ง Product Manager ในฝ่ายข่าวก็จะถูกต่อต้านด้วยซ้ำเพราะความไม่เคยชินของคนข่าวรุ่นเก่าที่จะไม่ยอมให้มีคำว่า "บริหาร" หรือ "จัดการ" มาป้วนเปี้ยนอยู่ใน "คอก" ดั้งเดิมของคนข่าวด้วยซ้ำ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
แต่ในภาวะของความเปลี่ยนแปลงหนักหน่วงรุนแรงเช่นนี้ไม่มีกฎกติกามารยาทข้อใดที่ไม่ถูกท้าทาย...ยกเว้น

Sunday, February 14, 2016

ข่าวดีสำหรับคนมี Phablets: ระหว่าง Smartphones กับ Tablets

คำนี้มาใหม่ Phablets เป็นการผสมผสานระหว่าง Smartphones กับ Tablets มีจอกว้างระหว่าง 5-7 นิ้ว ว่ากันว่าคนที่ใช้ Phablets มักจะใช้บริโภคข่าวมากกว่าคนที่ใช้มือถือขนาดมาตรฐานปกติ
ผลสำรวจของ Donald W. Reynolds Journalsim Instititute ที่ทำผ่านมือถือบอกว่า 47% ของคนที่มี Phablets บอกว่าบริโภคข่าว "บ่อย" ถึง "บ่อยมาก" เปรียบเทียบกับ 23% ของคนที่ใช้ Smartphone ขนาดปกติ
ที่น่าสนใจคือ 7 ใน 10 คนที่เป็นเจ้าของ Phablets มีอายุระหว่าง 25 ถึง 34 บอกว่าพวกเขาเช็คข่าว "บ่อย" ถึง "บ่อยมาก" และ 81% ยืนยันว่าทุกวันจะใช้เวลามากกว่า 20 นาทีในการบริโภคข่าวผ่านมือถือขนาดกลางนี้ และ 33% ใช้เวลาเพื่อการนี้วันละเกินหนึ่งชั่วโมง
 

Saturday, December 5, 2015

"หมาเฝ้าบ้าน" ต้องไม่ใช่ "หมาหมู่" หรือ "หมาหิว"

คำแนะนำของผมสำหรับคนข่าวรุ่นใหม่คือจะต้อง "สร้างความแตกต่าง" ให้ผู้ติดตามเชื่อว่า "คุณหาเนื้อหาที่มีคุณภาพเช่นนี้ได้จากที่นี่เท่านั้น" เพราะในโลกดิจิตัลที่มี "ข่าวทั่วไปล้นเอ่อทุกนาที," คนข่าวที่สร้างความโดดเด่นและเป็นมืออาชีพอย่างจริงจังเท่านั้นจึงจะมีที่ยืนอย่างมั่นคงได้
ต้องกลับไปสู่พื้นฐานของการเขียนข่าวกระชับชัดเจน, ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา, Get it first, but first get it right! ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เป็นข่าว, รักษาจริยธรรมต่อผู้เป็นข่าวและแหล่งข่าว, หมั่นฝึกซ้อม "จมูกข่าว" ให้ว่องไว่แม่นยำเพื่อทำหน้าที่ "หมาเฝ้าบ้าน" ที่มีคุณภาพ ไม่กลายเป็น "หมาหมู่" ที่แห่ตามกระแสอย่างไร้หลักการ, และไม่เป็น "หมาหิว" ที่กระโดดเข้างับเนื้อที่ผู้หวังผลประโยชน์โยนมาให้
คุณภาพของคนข่าวทุกวันนี้โดยเฉลี่ยแล้วหดตัวลงเพราะไม่มีการสร้างคนข่าวที่มีคุณภาพมาทดแทนที่หายไป ไม่ฝึกฝนให้มีความคล่องตัวในยุคโซเชียลมีเดียที่มีมากกว่าเพียงแต่เล่น Facebook และ Twitter กับ Instagram โดยไม่ได้ใช้เครื่องมือเหล่านี้เสริมให้ทำรายงานสืบสวนสอบสวนให้รอบด้านและเปิดโปงความไม่ชอบมาพากลของสังคม
พูดเฉพาะในวงการทีวี แต่ก่อนมีฟรีทีวี 6 ช่อง มีคนข่าวทั้งหน้าจอและหลังจอจำนวนหนึ่ง วันนี้มีดิจิตัลทีวี 22 ช่อง แต่คุณภาพของคนข่าวเท่าเดิม
แต่ก่อนคุณภาพเฉลี่ยของคนข่าวหารด้วย 6 วันนี้หารด้วย 22
ซึ่งแปลว่าคุณภาพเฉลี่ยของคนข่าวลดทอนลงไปอย่างน่ากังวลยิ่ง
การแข่งขันทำเรตติ้งส์ทำให้เกิดการแก่งแย่งกันไปทางลดคุณภาพ มุ่งหาดราม่าและเนื้อหาตามกระแส เอาใจเฉพาะคนสมาธิสั้น ไม่สนใจสร้างเนื้อหาลุ่มลึกและเจาะลงไปในเรื่องราวที่มีความสำคัญต่อสังคม
ถามว่าแข่งกันหรือไม่? ตอบว่ายังแข่งกันอยู่แต่แข่งกันว่า "ใครจะเน่ากว่าใคร?"
หน้าที่ของคนข่าวที่ดีคือการแยก "สาระ" จาก "กระพี้"
ทุกวันนี้ก็มีการแยกสาระจากกระพี้...แต่เมื่อแยกแล้วก็เก็บสาระใส่ลิ้นชัก นำเสนอเฉพาะกระพี้
จึงเป็นที่มาของสภาพ "วิกฤตของคนข่าว" ทุกวันนี้